บทความ
การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) เป็นกาใช้โครงการเป็นตัวดำเนินกิจกรรม เกิดครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดย วิลเลียม เฮิร์ด คิลแพทริค (William Heard Kilpatrick) ครูสอนภาษาที่เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการพัฒนาการศึกษาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขาได้ขยายรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงการนี้ โดยนำแนวคิดของ จอห์น ดูอี (John Dewey) นักปฏิรูปการศึกษาคนสำคัญ ซึ่งให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นกลุ่มปฏิบัติการ ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการ และมุ่งให้เด็กเรียนรู้และเกิดองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เข้ามาร่วมด้วย ทำให้กลายเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
หลักการสำคัญ คือ ส่งเสริมให้เด็กศึกษาตามความสนใจ ผ่านการคิดและแก้ปัญหาจากตัวเอง จนได้คำตอบที่ต้องการเพื่อนำเสนอต่อผู้อื่น โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการเพียงพอต่อความสนใจของเด็ก ส่งผลให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีครูเป็นผู้แนะนำและอำนวยความสะดวก
ประกอบด้วย กิจกรรมสำคัญ 5 กิจกรรม ได้แก่
👾พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
👾ศึกษานอกห้องเรียนและนอกสถานที่
👾นำเสนอประสบการณ์การเดิมของเด็กผ่าน การวาดภาพ การเขียน การใช้สัญลักษณ์และการเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
👾สืบค้นและค้นคว้าผ่าน สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ และเรียนรู้จากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
👾นำเสนอโครงการด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
มีการดำเนินการ เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะเริ่มต้นโครงการ
เด็กและครูร่วมกันอภิปรายหาหัวข้อที่จะทำการศึกษา โดยต้องเป็นหัวข้อตามความสนใจ สามารถบูรณาการได้ ขั้นนี้มีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ
👾กำหนดหัวข้อที่จะศึกษา
👾กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตเนื้อหา และระยะเวลาในการศึกษา
ระยะดำเนินการ
เป็นขั้นของการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ได้วางไว้ โดยเน้นให้เด็กร่วมมือกันในการเรียนรู้ เน้นให้เด็กได้ปฏิบัติจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ขั้นนี้มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ
👾กำหนดปัญหาหรือสิ่งที่อยากรู้ตั้งสมมุติฐาน
👾ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบ (ผ่านสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้และวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ)
👾ทดสอบสมมติฐาน
ระยะสรุปผลโครงการ
เป็นขั้นของการนำผลที่ได้จากการดำเนินการมาแสดง ผ่านการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้ได้ทบทวนแนวทางในการปฏิบัติ และทบทวนถึงองค์ความรู้ที่ได้จากการดำเนินการตามโครงการอีกด้วย ชั้นนี้มีการดำเนินงานอยู่ 2 ขั้นตอน คือ
👾สรุปผลที่ได้จากการศึกษา
👾นำเสนอผลการศึกษาที่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น