วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

Researh

 


ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม 
ของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วม



ผู้จัดทำ: สุดาพร วิชิตชัยชาคร
ปีการศึกษา: 2551

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา: ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม จํานวน 30 คน โดยแบ่งเป็น เด็กปฐมวัยปกติชาย - หญิง จํานวน 25 คน และเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ชาย - หญิง จํานวน 5 คน อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนเกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัด กรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม อายุระหว่าง 5-6 ปี จํานวน 15 คน ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียน เกษมพิทยาสังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียน ซึ่งประกอบด้วยเด็กปฐมวัยปกติชาย-หญิง จํานวน 12 คน และเด็กปฐมวัยที่ มีความต้องการพิเศษชายจํานวน 3 คน ซึ่งเป็นเด็กที่มีอาการออทิสติก (Autistic) 1 คน เด็กที่มีอาการ สมาธิสั้น(Attention Deficit) 1 คน และเด็กที่มีอาการสมองพิการ (Cerebral Palsy) 1 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย: 
👾แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
👾แบบสังเกตพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม

ตัวแปรที่ศึกษา:
👾ตัวแปรอิสระได้แก่ การจัดประสบการณ์แบบโครงการ 
👾ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมด้านสังคม

ความมุ่งหมายของการวิจัย:
👾เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ  
👾เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการต่อพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและ เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ 

สรุป: เด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วม หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการมีพฤติกรรมด้านสังคมโดยรวมและรายด้าน ได้แก่การ ช่วยเหลือ การยอมรับ และการแบ่งปัน สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ ผลการวิเคราะห์คะแนนพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความ ต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ พฤติกรรมด้านสังคมทั้ง 3 พฤติกรรม คือการช่วยเหลือ การยอมรับ และการแบ่งปัน ของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ในห้องเรียนร่วม ก่อนได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 1.45ถึง 1.58ซึ่งอยู่ ในระดับไม่เหมาะสมทุกพฤติกรรม และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรมด้านสังคม ทั้ง 3 พฤติกรรม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 0.98 ระหว่างการจัดประสบการณ์แบบโครงการทั้ง 3 ด้าน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.66 ถึง 5.09ซึ่งอยู่ในระดับค่อนข้างเหมาะสมทุกพฤติกรรม และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของพฤติกรรม ด้านสังคม ทั้ง 3 พฤติกรรม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.42ถึง 0.59 90 เมื่อพิจารณาหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการทั้ง 3 พฤติกรรม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ ระหว่าง 6.28 ถึง 8.00 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมทุกพฤติกรรม และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม ทั้ง 3 พฤติกรรม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.97ถึง 1.20ซึ่งได้มาจาก การสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้อง การพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนการทดลอง ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลอง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Learning Record 13 🌷

  วันจันทร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563    วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายสำหรับรายวิชานี้ อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ตนเองได้ร...